ขอต้อนรับสู่ Freedom Jobs เว็บบล็อกสำหรับคนรัก อาชีพอิสระ ...
ในปัจุบันนี้ เชื่อว่าหลายๆคนกำลังมองหา อาชีพอิสระ ที่เลือกได้ ไม่ต้องเป็นลูกจ้างใคร ทำเอง จัดการเอง กินเอง และ ถ้ายิ่งได้อยู่กับครอบครัว อยู่กับธรรมชาติ ที่อากาศบริสุทธิ์ด้วยแล้ว คงเป็นอะไรที่วิเศษที่เดียว แน่นอนครับ เรามีอาชีพที่น่าสนใจมาแนะนำ ซึ่งก็มีทั้ง ด้านการเกษตร การเงิน คอมพิวเตอร์ การหารายได้เสริมออนไลน์ (หารายได้จากเน็ต) ..
มีอะไรบ้างก็ติดตามหาข้อมูลได้เลยครับ...

กระดานเทรดเหรียญคริปโตของไทย

BX.in.th Bitcoin Exchange Thailand

การปลูกมะพร้าวน้ำหอม

มะพร้าวน้ำหอม

มะพร้าวน้ำหอม เป็นพืชที่มีอนาคตในด้านการส่งออก และแปรรูปในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มมากขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษคือเนื้อมะพร้าวมีรสชาติหวาน กลมกล่อมและมีกลิ่นหอมชื่นใจสามารถช่วยดับกระหายคลายร้อนได้ดี นอกจากนี้มะพร้าว ก็ได้ชื่อว่าเป็นผลไม้ที่ปลอดสารพิษชนิดหนึ่ง เนื่องจากเกษตรกรมีการใช้สารเคมีน้อยมาก
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
- น้ำฝน ฝนควรตกกระจายสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี ไม่ควรมีฝนตกน้อยกว่า 5๐ มิลลิเมตร เกิน 3 เดือน
- สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส จะสูงหรือ ต่ำกว่านี้ไม่เกิน 7-8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิไม่ควรเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน
- แสงแดด มะพร้าวควรได้รับแสงแดดอย่างน้อย 5 ชั่วโมงต่อวัน แสงแดดต้องสาดส่องอย่างเสมอตลอดปี มะพร้าวจะเติบโตได้ดี
- ลม ควรมีลมพัดอ่อน ๆ แต่พัดอย่างสม่ำเสมอ
- ดิน ไม่เปรี้ยวหรือเค็มจัด จะเป็นดินอะไรก็ ได้ที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ และความชื้นพอเหมาะ แต่ถ้าเป็นดินน้ำไหลทรายมูลที่เกิดจากน้ำพัดพา มาสะสม เช่น ดินริมแม่น้ำ จะปลูกมะพร้าวได้ดีที่สุด
การเตรียมหลุมปลูก
ควรเตรียมหลุมปลูกในฤดูแล้ง ขุดหลุมขนาด 50x50x50 เซนติเมตร แยกดินส่วนบนไว้ต่างหาก ตากลุมอย่างน้อย 1 สัปดาห์ถ้ามีปลวกให้เผาเศษไม้ ใบไม้แห้งในหลุม หรืออาจใช้ยากันปลวกโรยก้นหลุมก็ได้ ถ้าปลูกมะพร้าวในพื้นที่แห้งแล้งหรือดินที่ปลูกเป็น ทรายจัดให้ใช้กาบมะพร้าวก้นหลุม โดยวางกาบมะพร้าวในด้านที่มีเส้นใยหงายขึ้นข้าง บนวางซ้อนกัน 2-3 ชั้น เพื่อช่วยเก็บความชื้นในดิน ถ้าไม่มีกาบมะพร้าวจะใช้วัสดุอื่น เช่น ฟางข้าว ใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฯลฯ แทนก็ได้ ใส่ดินบนที่ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1:7 รองก้นหลุมส่วนดินล่างผสมด้วยปุ๋ยฟอสเฟตหลุมละครึ่งกิโลกรัม (ประมาณ 2กระป๋องนม) เอาดินใส่ลงในหลุมให้เต็ม ทิ้งไว้จนถึงฤดูปลูก
วิธีการปลูกมะพร้าวน้ำหอม
-ควรปลูกในฤดูฝนจะดีที่สุด
-ขุดดินบนหลุมปลูกที่เตรียมไว้ให้เป็นหลุมเล็ก ๆ ขนาดเท่าผลมะพร้าว
-เอาหน่อที่คัดเลือกแล้วมาตัดรากที่หักช้ำออก ใช้ปูนขาวหรือยากันเชื้อราทาตรงรอยตัด วางหน่อลงในหลุม ให้หน่อตั้งตรง หันหน่อไปในทิศทางเดียวกัน
-กลบดินอย่างน้อย 2/3 ของผล หรือให้มิดผลมะพร้าวพอดีแต่ระวังอย่า ให้ดินทับโคนหน่อ เพราะจะทำให้หน่อถูกรัด ต้นจะโตช้าแต่เมื่อมะพร้าวโตขึ้นแล้วก็ควรจะกลบ ดินให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันโคนลอย
-เอาไม้ปักเป็นหลักผูกยึดกับต้นให้แน่น เพื่อป้องกันลมโยกเหยียบดินรอบโคนหน่อให้แน่น
-ควรทำร่มให้ในระยะแรก เพื่อลดอัตราการตายเนื่องจากถูกแดดจัดเกินไป
-ในบริเวณที่ปลูกถ้ามีสัตว์เลี้ยงให้ทำรั้วป้องกันสัตว์มาทำลาย
การให้น้ำ ในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมในปีแรก ควรใช้น้ำทุกสัปดาห์เมื่อมะพร้าวโตขึ้นอาจให้น้ำทุก 2 สัปดาห์
การใส่ปุ๋ย
ไนโตรเจน 9.44 - 15.68 กิโลกรัมต่อไร่
ฟอสฟอรัส 4.23 – 7.36 กิโลกรัมต่อไร่
โพแทสเซียม 13.60 – 20.20 กิโลกรัมต่อไร่
แคลเซี่ยม 13.60 กิโลกรัมต่อไร่
แมกนีเซี่ยม 5.6 กิโลกรัมต่อไร่
ฤดูที่เหมาะสมที่สุดที่จะใส่ปุ๋ยให้เหมาะแก่มะพร้าว คือ ในช่วงต้นและปลายฤดูฝน เพราะในช่วงนี้มีความ ชื้นเพียงพอที่จะ ช่วยละลายปุ๋ยและรากของมะพร้าวกำลังเจริญอย่างเต็มที่สามารถ ดูดปุ๋ยไปใช้ได้ดี
การกำจัดวัชพืช-ใช้แรงงานคน โดยการถางด้วยจอบ หรือดายด้วยมีด-ใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถตัดหญ้า รถไถขนาดเล็ก-ปลูกพืชคลุมจำพวกหรือตระกูลถั่ว เช่น คาโลโปโกเนียมเพอร์ราเรีย หรือเซ็นโตรซีมา โดยปลูกห่างจากโคนต้นประมาณ 2 เมตร
ราคาขายโดยประมาณ ตามท้องตลาด 7.50-9 บาท/ผลมะพร้าวน้ำหอมเผา 8-20 บาท/ผล

การปลูกกล้วยไข่

การปลูกกล้วยไข่
กล้วยไข่ หรือ กล้วยกระ,กล้วยเจ็กบอง กล้วยไข่เป็นผลไม้ที่นิยมผู้บริโภคกันทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดี ลักษณะการเรียงตัวของผลและสีผลสวยงานน่ารับประทาน
ลักษณะทั่วไป
- ต้น ลำต้นสูง 2. 5 - 3 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 16 - 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนเหลือง มีประสีน้ำตาลอ่อน ด้านในสีชมพูอมแดง
- ใบ ก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีร่องกว้าง โคนก้านมีครีบสีชมพู
- ดอก ก้านช่อดอก มีขนอ่อน ปลีรูปไข่ ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในที่โคนกลีบสีซีด
- ผล เครือหนึ่งมี 6 - 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลค่อนข้างเล็ก ก้านผลสั้น เปลือกผลบางเมื่อสุก มีสีเหลืองสดใส บางครั้งมีจุดดำเล็ก ๆ ประปราย เนื้อสีครีม อมส้ม รสหวาน

พื้นที่ปลูกที่เหมาะสม
สภาพพื้นที่

- พื้นที่ดอน หรือพื้นที่ราบ ไม่มีน้ำท่วมขัง

- ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร

- มีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรืออยู่ในเขตชลประทาน

- การคมนาคมสะดวก
ลักษณะดิน
- ดินร่วน, ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทราย
- มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี
- ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร
- ค่าความเป็นกรดด่างของดินระหว่าง 5.0-7.0
แหล่งน้ำ
- มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูปลูก
- เป็นแหล่งน้ำสะอาด ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำระหว่าง 5.0-9.0

การเตรียมดิน
- วิเคราะห์ดิน เพื่อประเมินค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดิน และความเป็นกรดด่างของดิน ปรับสภาพดินตามคำแนะนำก่อนปลูก
- ไถพรวน ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืช
- คราดเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง

วิธีการปลูกกล้วยไข่
- ปลูกด้วยหน่อใบแคบที่มีความสมบูรณ์ดี
- เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร
- รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกอัตรา 5 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับหน้าดินรองก้นหลุมปลูกถ้ามีการไว้หน่อ (ratoon) เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไปอีก 1-2 รุ่น ควรรองก้นหลุมด้วย หินฟอสเฟต อัตรา 100-200 กรัม/หลุม
- ระยะปลูก (1.5-1.75) x2 เมตร เป็นการปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงครั้งเดียว แล้วรื้อปลูกใหม่ 2x2 เมตรเป็นการปลูกสำหรับไว้ตอหรือหน่อ (ratoon) เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตของหน่อ (ratoon) อีก 1-2 รุ่น
- การปลูก วางหน่อพันธุ์ที่หลุมปลูกให้ลึก 25-30 เซนติเมตร โดยจัดวางหน่อพันธุ์ให้ด้านที่ติดกับต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน กลบดินลงหลุมปลูกและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
การดูแลรักษา
การพรวนดิน: ภายหลังปลูกกล้วยไข่ประมาณ 1 เดือนควรรีบทำการพลิกดินให้ทั่วทั้งแปลงปลูก เพื่อให้ดินเก็บความชื้นจากน้ำฝนไว้ให้มากที่สุด และเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วย ขณะที่รากกล้วยยังขยายไปไม่มากนัก
การกำจัดวัชพืช:ควรกำจัดวัชพืชปีละ 3 ครั้ง ครั้งแรกพร้อม ๆ กับการพลิกดิน ส่วนครั้งที่ 2 และ 3 ให้พิจารณา จากปริมาณวัชพืช แต่จะทำก่อนที่ต้นกล้วยตกเครือ
การให้ปุ๋ย:ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ครั้ง เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนปลูกอัตรา 3-5 กิโลกรัมต่อหลุม ใส่ปุ๋ยเคมี 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 และ 2 เป็นระยะที่กล้วยมีการเจริญเติบโตทางลำต้น ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง หลังจากปลูก 1 และ 3 เดือน การให้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 3 และ 4 จะให้ปุ๋ยเคมีภายหลังจากปลูก 5 และ 7 เดือน ซึ่งเป็นระยะที่กล้วยใกล้จะให้ผลผลิต จะให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-24, 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้งวิธีการใส่ปุ๋ยเคมี โรยห่างจากต้นประมาณ 30 เซนติเมตร หรือใส่ลงในหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร 4 ด้าน แล้วพรวนดินกลบ
การให้น้ำ:ในฤดูฝน เมื่อฝนทิ้งช่วง เมื่อสังเกตหน้าดินแห้งและเริ่มแตก ควรรีบให้น้ำในฤดูแล้งเริ่มให้น้ำตั้งแต่หมดฝน ประมาณปลายเดือนมกราคม-พฤษภาคม
ราคาขายโดยประมาณ ตามท้องตลาด กิโลกรัมละ 8-12บาท หรือ หวีละ ประมาณ 23 บาท

การปลูกกล้วยหอม

กล้วยหอม
กล้วยหอม เป็นอีกหนึ่งผลไม้ไทยที่ผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อในสุกเหนียวหนึบ มีกลิ่นหอม รสหวานอมเปรี้ยวหน่อยๆ รสชาติอร่อย และมีผลงานวิจัยแล้วว่า เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ และสารอาหารต่าง ๆ มากมาย ที่ร่างกายควรได้รับ และให้พลังงานมากถึง 100 กิโลแคลอรี่ ต่อหน่วยเลยทีเดียว ในกล้วยหอมมีสารน้ำตาลอยู่ 3 ชนิด คือ ซูโครส (sucrose) ฟรักโทส (fructose) และกลูโคส (glucose) ให้พลังงานแก่ร่างกายพร้อมนำไปใช้ทันที
พันธุ์และลักษณะประจำพันธุ์ของกล้วยหอม
จะมีอยู่ 2 สายพันธุ์ด้วยกัน คือ
1. กล้วยหอมทองต้นสูง ต้นสูงประมาณ 2-4 เมตร ลำต้นอบใหญ่ กาบสีดำเป็นบางส่วน เครือใหญ่ ผลยาว เมื่อสุกมีกลิ่นหอมมาก สีผิวของเปลือกเป็นสีเหลือง เปลือกไม่ยุ่ย
2. กล้วยหอมทองค่อม ต้นสูงประมาณ 1.5-2 เมตร ลำต้นอวบใหญ่ ต้นเตี้ย ผลสั้น เครือเล็กกว่า กลิ่นหอมน้อยกว่าพันธุ์ต้นสูง

ลักษณะดินและพื้นที่ที่เหมาะสม
ดินที่จะปลูกกล้วยหอมทอง ควรเป็นดินร่วน น้ำไม่ท่วมขัง มีอินทรียฺวัตถุสูง มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูปลูก
การเตรียมดินปลูก ดินที่จะปลูกกล้วยหอมทอง จะต้องเตรียมดินให้ร่วนซุย โดยไถด้วยผานเจ็ด 2 ครั้ง หรือจะใช้รถไถเดินตามไถครั้งแรก แล้วตากหน้าดินไว้ 7-10 วันเพื่อกำจัดวัชพืช และศัตรูพืชที่ตกค้างอยู่ในดิน หากมีวัชพืชงอกขึ้นมาหลังจากนั้นให้ไถกลบอีกครั้ง เพื่อเป็นการกำจัดวัชพืช ให้ลดน้อยลง ดินตรงไหนที่เป็นแอ่งควรปรับดินให้มีความลาดเท เพื่อป้องกันมิให้น้ำท่วมขังในช่วงหน้าฝน

การเตรียมหน่อปลูก
ขุดหน่อกล้วยโดยใช้ชะแลงตัดหน่อให้แยกออกจากกอเดิมก่อน แล้วใช้จอบขุดให้รอบเพื่อให้รากขาด จากนั้นให้ใช้ชะแลงงัดหน่อกล้วยขึ้นมา วิธีนี้จะทำให้หน่อกล้วยที่ได้ไม่ช้ำและหลุดออกง่าย เมื่อขุดหน่อได้แล้วให้ใช้มีดคมๆ ปาดรากกล้วยที่ยาวออกให้เหลือรากติดเหง้ากล้วยประมาณ 1 นิ้วเป็นพอ

วิธีการปลูกกล้วยหอม
การปลูกกล้วยหอมทองจะใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร ซึ่งเป็นระยะปลูกที่เหมาะสม หรือจะใช้ระยะปลูก 3.5 x 3.5 เมตรก็ได้เช่นกัน การเลือกใช้ระยะปลูกกล้วยหอมทองนั้นขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ แต่ถ้าใช้ระยะปลูกที่ถี่ไปกว่านี้จะทำให้ต้นกล้วยมีอาการสูงชะลูโ เครือกล้วยเล็ก เมื่อ
โตเต็มที่ เพราะความหนาแน่นของต้นกล้วยที่มีมากกเกินไปทำให้กล้วยที่ปลูกได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ
- ใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร จะปลูกกล้วยได้ 177 ต้นในพื้นที่ 1 ไร่
- ใช้ระยะปลูก 3.5 x 3.5 เมตร จะปลูกกล้วยได้ 133 ต้นในพื้นที่ 1 ไร่
หลังจากวัดระยะปลูกและปักหลักเรียบร้อยแล้ว ขุดหลุมลึกประมาณ 40 ซม. หรือ 1 ศอก กว้างประมาณ 1 ศอก นำหน่อกล้วยที่ตัดรากออกลงหลุม แล้วกลบดิน เหยียบดินให้แน่น เมื่อกลบดินได้ครึ่งหลุม เพื่อไม่ให้ต้นกล้วยโยกคลอน หลังจากนั้นกลบดินให้เต็มหลุมแต่ไม่ต้องกดดิน
การตัดใบกล้วยหลังจากปลูก
ถ้าเป็นหน่อใบแคบหลังจากปลูกแล้วไม่จำเป็นต้องตัดใบทิ้ง แต่ถ้าเป็นหน่อในกว่างหรือหน่อที่เคยปาดเฉียงมาก่อน ควรจะมีการปาดเฉียงลำต้นใหม่เพื่อที่กล้วยจะได้แตกใบใหม่ที่แข็งแรงขึ้น
การให้ปุ๋ย
ควรให้ทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีควบคู่กันไปทั้งสองอย่าง ปริมาณจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของดิน สำหรับปุ๋ยเคมีสูตรที่เหมาะสมสำหรับกล้วยหอมทองคือ 21-0-0 จำนวน ใช้ในอัตรา 50 กก.ต่อไร่ หรือจะใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตรา 50 กก.ต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง
การให้น้ำกล้วยหอม
ในพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ จะใช้วิธีการสูบน้ำจากบ่อบาดาลหรือบ่อกักเก็บน้ำที่อยู่ใกล้ๆ สวน สูบน้ำขึ้นมารดต้นกล้วย สำหรับเครื่องสูบน้ำที่ใช้ควรจะมีขนาด 5-8 แรงม้า แล้วใช้สายยางขนาด 2 นิ้ว ต่อรดน้ำแปลงกล้วย การให้น้ำกล้วยทุกชนิดจะให้แค่พอชุ่ม ในช่วงที่ปลูกใหม่ ๆ และขณะที่กล้วยหอมตั้งตัวและกำลังติดปลี ติดผลดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้น้ำเป็นประจำทุกวันเหมือนพืชอื่น
การกำจัดวัชพืชในแปลงกล้วย
ถ้ามีการดายหญ้าและพรวนดินในแปลงกล้วยตลอดเวลา จะทำให้ได้กล้วยเครือใหญ่ และจำนวนหวีมากขึ้น สำหรับวิธีการกำจัดวัชพืชในแปลงกล้วยมี 3 วิธี ด้วยกันคือ
1. การใช้แรงงานคน 1ปกติถ้าปลูกกล้วยเป็นจำนวนไม่มาก การใช้แรงงานคนเข้าดายหญ้าในแปลงปลูกเป็นวิธีที่ดีที่สุด
2. ใช้รถไถเล็กหรือรถไถเดินตามเกษตรกรบางรายที่มีพ้นที่ปลูกมากการใช้รถไถนาเดินตาม ไถดะระหว่างร่องกล้วย ไปกลับร่องละ 2 ครั้ง ระวัง อย่าไถชิดโคนต้นกล้วยมากเกินไป แล้วดายพรวนรอบโคนต้นกล้วยอัดดินบริเวณโคนต้นกล้วยให้แน่น จะทำให้โคนต้นกล้วยไม่หักล้มได้ง่าย
3. การใช้สารเคมี สารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้ควรเป็นสารเคมีประเภทสัมผัส ผสมน้ำตามอัตราที่กำหนด ฉีดพ่นอย่าให้ถูกใบกล้วย สารเคมีจำพวกนี้จะไม่มีผลกระทบต่อสภาพของดินและต้นกล้วย แต่จะมีผลทำให้ผลผลิตที่ได้สู้การกำจัดวัชพืชโดยการดายหญ้าไม่ได้
ราคากล้วยหอม โดยประมาณ กิโลกรัมละ 10-12 บาท หรือเครือละ 100-120 บาท

การปลูกกล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี อร่อยด้วย กล้วยน้ำว้ามีชื่อพื้นเมืองอื่นเช่น กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยใต้ หรือ กล้วยอ่อง กล้วยน้ำว้าเมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กินกล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย
ลักษณะทั่วไปของกล้วยน้ำหว้า
- ต้น ลำต้นสูงไม่เกิน 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวอ่อน มีประดำบ้างเล็กน้อย
- ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ เส้นกลางใบสีเขียว
- ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างป่อม ปลายป้าน ด้านนอกสีแดงอมม่วงมีนวลหนา ด้านในมีสีแดงเข้ม
- ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 7 - 10 หวี หวีหนึ่ง มี 10 - 16 ผล ก้านผลยาว เปลือกหนา สุกมีสีเหลืองเนื้อสีขาว รสหวาน ไส้กลางมีสีเหลือง ชมพูหรือขาว ทำให้แบ่งออกเป็นกล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยน้ำว้าแดง และกล้วยน้ำว้าขาว

วิธีการปลูก
1. ขุดหลุม กว้างยาวลึก อย่างละ 50 ซม. ระยะการปลูกต่อต้นอยู่ที่ 2.5 x 2.5 เมตร
2. ผสมดินกับปุ๋ยคอกหรือผสมกับปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
3. วางหน่อกล้วยลงในหลุม ถ้ามีการปลูกกล้วยเป็นแถว ควรหันแผลที่ตัดหน่อกล้วยไปทางเดียวกัน เพื่อให้กล้วยแทงปลีไปทางเดียวกัน
4. ตั้งหน่อกล้วยให้ตรง แล้วกลบดินผสมปุ๋ยลงหลุมกดให้แน่น
5. ควรหาวัสดุคลุมดินที่โคนหน่อกล้วย เพื่อลดการละเหยของน้ำ
6. รดน้ำให้ชุ่ม
การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย
ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 15- 15-15 อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 4 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 ใส่หลังปลูก 1 สัปดาห์
ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน
ครั้งที่ 3 ใส่หลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน
ครั้งที่ 4 ใส่หลังจากครั้งที่ 3 ประมาณ 3 เดือน
การให้น้ำ
ปริมาณของน้ำนั้นขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ความชุ่มชื้นของดิน ปริมาณลมที่พัดผ่าน จะทำให้การคายน้ำมาก จึงไม่ควรปล่อยให้ผิวหน้าดินแห้งติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากรากจะหาอาหารอยู่บริเวณผิวดิน จะทำให้หยุดชะงักการเจริญเติบโต
การปฏิบัติอื่นๆ
- การตัดแต่งหน่อ หลังจากปลูกประมาณ 3 - 4 เดือน จะมีหน่อขึ้นมารอบๆ โคน ให้ตัดไปเรื่อยจนกว่าจะเริ่มออกปลี จากนั้นก็ให้ไว้สัก 1 - 2 หน่อ โดยหน่อที่ 1 และ ที่ 2 ควรมีอายุห่างกันประมาณ 4 เดือน เพื่อให้ผลกล้วยมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเลือกหน่อที่อยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้าม
- การตัดแต่งใบ ควรทำการตัดแต่งช่วงที่ต้นเริ่มโตจนถึงเก็บเกี่ยว โดยเลือกใบแก่และใบที่เป็นโรคออก ตัดให้เหลือประมาณ 7 - 12 ใบ เพื่อป้องกันต้นกล้วยโค่นช่วงออกปลี เพื่อใช้ใบปรุงอาหาร และเพิ่มความเจริญเติบโตของผลกล้วย
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
- โรคใบจุด ป้องกันโดยนำไปเผา หรือใช้สารเคมีคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือสารป้องกันกำจัดเชื้อรา แมนโคเซบ หรือเบนโนมิล
- ด้วงงวง ป้องกันโดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่นโตฟอส
- หนอนม้วนใบกล้วย ป้องกันโดยใช้สารเคมีคลอไพลิฟอส
- แมลงวันผลไม้ใช้สารล่อแมลงสารเมธิลยูลินอลผสมสารฆ่าแมลงล่อทำลายแมลงวันเพศผู้หรือใช้สารฆ่าแมลงมาลาไธออน หรือ ไดเมทโทเอท
*** ราคากล้วยน้ำว้าเบอร์ใหญ่ หวีละ 18-20 บาทเบอร์กลาง หวีละ 13-15 บาทเบอร์เล็ก หวีละ 6-7 บาท

การเพาะเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจือ เป็นสมุนไพรที่ชาวจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน ใช้รับประทานบำรุงสุขภาพ มา ช้านาน เห็ดชนิดนี้ ราคาค่อนข้างแพงและมีรสชาติขม การเพาะทำได้ไม่ยากโดยใช้ขี้เลื่อยผสม วัสดุต่าง ๆ ดังวิธีการและขั้นตอนดังต่อไปนี้
การเพาะเห็ดหลินจือ
การเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดบริสุทธิ์
การเลี้ยงเชื้อเห็ดหลินจือ เลี้ยงได้บนอาหารชนิดเดียวกับเห็ดนางฟ้า นางรม อาหารที่ใช้เลี้ยงจะต้องเป็นอาหารที่เหมาะสมและปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ทุกชนิด ในการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อบริสุทธิ์จะต้องมีขั้นตอนที่สำคัญ 2 ประการ คือสูตรอาหารที่เหมาะสมและวิธีการเตรียมที่ถูกต้อง
สูตรอาหาร P.D.A
สูตร 1.
มันฝรั่ง 200 กรัม
รำละเอียด 50 กรัม
น้ำตาลคลูโคส 20 กรัม
วุ้น 20 กรัม
วิตามิน 10 มิลลิกรัม
รแตสเซียมไฮโดรเจนฟอสแฟต (KH PO ) 1 กรัม
แมกนีเซียมซัลเฟต (ดีเกลือ) MgS04 0.5 กรัม
น้ำสะอาด 1 ลิตร
สูตร 2.
มันฝรั่ง 200 กรัม
น้ำตาลกลูโคส 20 กรัม
วุ้น 20 กรัม
น้ำสะอาด 1 ลิตร
การเตรียมอาหาร
ล้างมันฝรั่งให้สะอาด ปอกเปลือกหั่นเป็นแผ่นบาง ๆ นำไปต้มกับรำละเอียดนาน 20 นาที จากนั้นนำมากรองแล้วตวงให้ครบตามที่ต้องการ นำไปต้มอีกครั้งหนึ่งใส่วุ้นน้ำตาลกลูโคส ส่วนวิตามินบี 1 โปรแตสเซียมไฮโครเจนฟอสเฟตและแมกนีเซียมซัลเฟต ผสมน้ำจนละลายดี เทใส่ในน้ำต้มมันฝรั่ง หลังจากนั้นนำส่วนผสมนี้เทลงในหลอดทดลองหรือขวดแบน ประมาณ 1 ใน 5 ของหลอด หรือประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร สูงจากก้นขวด ปิดจุกด้วยสำลีแล้วนำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน (Autoclave) ใช้ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้วนาน 30 นาที แล้วจึงนำหลอดมาเอียงประมาณ 10 – 15 องศา ทิ้งไว้ให้เย็นจึงเขี่ยเนื้อเยื่อจากดอกเห็ดลงบนอาหารเย็น แล้วนำไปเลี้ยงที่อุณหภูมิ 25 – 28 องศา ประมาณ 7 – 10 วัน เส้นใยเห็ดก็จะเจริญเติบโตเต็มอาหารวุ้น
การถ่ายเชื้อเพื่อการเลี้ยงเชื้อควรจะทำเป็นระยะ ๆ ไม่เก็บไว้ใช้ แต่ถ้าจำเป็นจะต้องเก็บเชื้อที่เลี้ยงแล้ว ไว้จะต้องเก็บไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิประมาณ 4 องศา นาน 1 – 2 เดือน
การทำหัวเชื้อเห็ดหลินจือ
เมล็ดธัญพืชที่นิยมใช้ทำหัวเชื้อ คือ เมล็ดข้าวฟ่าง เพราะมีลักษณะกลม สะดวกแก่การนำไปใช้มีราคาถูก หาง่าย การเตรียมหัวเชื้อจากเมล็ดข้าวฟ่าง นำเมล็ดข้าวฟ่างมาแช่น้ำนาน 12 ชั่วโมง จากนั้นนำไปต้มนาน 20 – 3 0 นาที แล้วนำไปผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ใส่ผงยิบซั่ม 1 % แคลเซียมคาร์บอเนต 2 % ต่อข้าวฟ่าง 1 กิโลกรัม แล้วผสมให้เข้ากัน จากนั้นนำมากรองใส่ขวดแบน 2 ใน 3 ส่วนของขวด ปิดปากขวดด้วยสำลีหุ้มด้วยกระดาษ แล้วนำไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งความดันที่ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 30 นาที จากนั้นทิ้งไว้ให้เย็น เพื่อรอการเขี่ยเชื้อ
การเขี่ยเชื้อ
อาหารวุ้น 1 หลอดสามารถเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดได้ 10 – 12 ขวด เชื้อเห็ดจะใช้เวลาในการเจริญเติบโตเต็มอาหารเลี้ยงเชื้อประมาณ 10 – 15 วัน
การเพาะเห็ดหลินจือในถุงขี้เลื่อย
การเตรียมวัสดุเพาะและสูตรอาหาร
- อาหารเพาะ
- หัวเชื้อเห็ดหลินจือ
- ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6 ½ , 12 ½ หรือ 7x 13 นิ้ว
- คอพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว
- สำลียางรัด
- ถังนึ่งไม่อัดความดันหรือหม้อนึ่งความดัน
- โรงเรือนหรือสถานที่บ่มเส้นใยและเปิดดอก
การเตรียมอาหาร
ชั่งส่วนต่าง ๆ ตามส่วนแล้วผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ส่วนน้ำตาลทรายกับดีเกลือละลายน้ำรดให้ทั่ว จากนั้นเติมน้ำผสมให้เข้ากันจะสังเกตได้จากเมื่อบีบแล้วน้ำจะไม่ไหลผ่านร่องนิ้วมือ บรรจุกอ้นในถุงพลาสติกอัดให้แน่น สวมคอขวดดึงให้ตึง รัดยางให้แน่น อุดด้วยสำลีแล้วนำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยถังนึ่งไม่อัดความดัน อุณหภูมิ 90 – 100 องศาเซลเซียส สม่ำเสมอนาน 3 ชั่วโมง จากนั้นทิ้งให้เย็น
การเขี่ยเชื้อเห็ด
การเขี่ยเชื้อเห็ดในห้องที่สะอาดและไม่มีลมโกรก หัวเชื้อ 1 ขวดสามารถเขื่ยใส่ในก้อนได้ประมาณ 40 – 50 ก้อน หลังการเขี่ยเชื้อลงในถุงอาหารแล้วนำไปเก็บยังโรงบ่มเส้นใยหรือในห้องที่มีอุณหภูมิที่คงที่ 25 – 28 องศา ตามปกติเส้นใยจะใช้เวลา 1.5 – 2 เดือน จึงจะเจริญเต็มวัสดุเพาะ
การเปิดดอกและการดูแลรักษา
เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงจากนั้นก็ขนย้ายก้อนเชื้อไปยังโรงเปิดดอก โดยวางช้อนกันแล้วเปิดฝาครอบปากถุงออก รดน้ำที่พื้นโรงเรือน ความชื้นในโรงเรือนประมาณ 85 – 95 % หลังจากเส้นใยเดินเต็มถุงภายใน 10 – 15 วัน จะเห็นดอกเห็ดผุดขึ้นมา ส่วนปลายจะเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน นับตั้งแต่ดอกเห็ดปรากฏออกมาให้เห็น จนกระทั่งดอกเห็ดเจริญเติบโตพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้นั้นจะใช้เวลาประมาณ 1 – 1.5 เดือน แล้วแต่ความสมบูรณ์ของอาหารและสภาพแวดล้อม โดยปกติแลวผลผลิตของดอกเห็ดครั้งแรก มักจะเกิดเป็นดอกเดี่ยวจะมีน้ำหนักประมาณ 30 – 70 กรัม ดอกเห็ดรุ่น 2 จะมีน้ำหนักประมาณ 20 – 40 กรัม ปกติแล้วจะทำการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 2 ครั้ง
โดยทั่วไปเห็ดหลินจือจะจำหน่ายในรูปของเห็ดแห้ง โดยตัดส่วนด้านที่มีเศษวัสดุเพาะออกทิ้งแล้วทำความสะอาดดอกเห็ด นำดอกเห็ดมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วนำไปตากแดด 1 – 3 วัน หรืออบในตู้อับที่อุณภูมิ 55 – 60 องศา นานประมาณ 4 – 5 ชั่วโมง ดอกเห็ดก็จะแห้งสนิท ดอกเห็ดที่ทำการอบแห้งได้ที่แล้ว ถ้าต้องการที่จะเก็บไว้นาน ๆ จะต้องการไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิด อากาศและความชื้นเข้าไม่ได้
ราคาโดยประมาณ กิโลกรัมละ 2,000 – 2, 500 บาท