กล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี อร่อยด้วย กล้วยน้ำว้ามีชื่อพื้นเมืองอื่นเช่น กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยใต้ หรือ กล้วยอ่อง กล้วยน้ำว้าเมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้
ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กินกล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย

ลักษณะทั่วไปของกล้วยน้ำหว้า
- ต้น ลำต้นสูงไม่เกิน 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวอ่อน มีประดำบ้างเล็กน้อย
- ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ เส้นกลางใบสีเขียว
- ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างป่อม ปลายป้าน ด้านนอกสีแดงอมม่วงมีนวลหนา ด้านในมีสีแดงเข้ม
- ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 7 - 10 หวี หวีหนึ่ง มี 10 - 16 ผล ก้านผลยาว เปลือกหนา สุกมีสีเหลืองเนื้อสีขาว รสหวาน ไส้กลางมีสีเหลือง ชมพูหรือขาว ทำให้แบ่งออกเป็นกล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยน้ำว้าแดง และกล้วยน้ำว้าขาว
วิธีการปลูก
1. ขุดหลุม กว้างยาวลึก อย่างละ 50 ซม. ระยะการปลูกต่อต้นอยู่ที่ 2.5 x 2.5 เมตร
2. ผสมดินกับปุ๋ยคอกหรือผสมกับปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
3. วางหน่อกล้วยลงในหลุม ถ้ามีการปลูกกล้วยเป็นแถว ควรหันแผลที่ตัดหน่อกล้วยไปทางเดียวกัน เพื่อให้กล้วยแทงปลีไปทางเดียวกัน
4. ตั้งหน่อกล้วยให้ตรง แล้วกลบดินผสมปุ๋ยลงหลุมกดให้แน่น
5. ควรหาวัสดุคลุมดินที่โคนหน่อกล้วย เพื่อลดการละเหยของน้ำ
6. รดน้ำให้ชุ่ม
การใส่ปุ๋ย
ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 15- 15-15 อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 4 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 ใส่หลังปลูก 1 สัปดาห์
ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน
ครั้งที่ 3 ใส่หลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน
ครั้งที่ 4 ใส่หลังจากครั้งที่ 3 ประมาณ 3 เดือน
การให้น้ำ
ปริมาณของน้ำนั้นขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ความชุ่มชื้นของดิน ปริมาณลมที่พัดผ่าน จะทำให้การคายน้ำมาก จึงไม่ควรปล่อยให้ผิวหน้าดินแห้งติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากรากจะหาอาหารอยู่บริเวณผิวดิน จะทำให้หยุดชะงักการเจริญเติบโต
การปฏิบัติอื่นๆ
- การตัดแต่งหน่อ หลังจากปลูกประมาณ 3 - 4 เดือน จะมีหน่อขึ้นมารอบๆ โคน ให้ตัดไปเรื่อยจนกว่าจะเริ่มออกปลี จากนั้นก็ให้ไว้สัก 1 - 2 หน่อ โดยหน่อที่ 1 และ ที่ 2 ควรมีอายุห่างกันประมาณ 4 เดือน เพื่อให้ผลกล้วยมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเลือกหน่อที่อยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้าม
- การตัดแต่งใบ ควรทำการตัดแต่งช่วงที่ต้นเริ่มโตจนถึงเก็บเกี่ยว โดยเลือกใบแก่และใบที่เป็นโรคออก ตัดให้เหลือประมาณ 7 - 12 ใบ เพื่อป้องกันต้นกล้วยโค่นช่วงออกปลี เพื่อใช้ใบปรุงอาหาร และเพิ่มความเจริญเติบโตของผลกล้วย
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
- โรคใบจุด ป้องกันโดยนำไปเผา หรือใช้สารเคมีคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือสารป้องกันกำจัดเชื้อรา แมนโคเซบ หรือเบนโนมิล
- ด้วงงวง ป้องกันโดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่นโตฟอส
- หนอนม้วนใบกล้วย ป้องกันโดยใช้สารเคมีคลอไพลิฟอส
- แมลงวันผลไม้ใช้สารล่อแมลงสารเมธิลยูลินอลผสมสารฆ่าแมลงล่อทำลายแมลงวันเพศผู้หรือใช้สารฆ่าแมลงมาลาไธออน หรือ ไดเมทโทเอท
*** ราคากล้วยน้ำว้าเบอร์ใหญ่ หวีละ 18-20 บาทเบอร์กลาง หวีละ 13-15 บาทเบอร์เล็ก หวีละ 6-7 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น