ขอต้อนรับสู่ Freedom Jobs เว็บบล็อกสำหรับคนรัก อาชีพอิสระ ...
ในปัจุบันนี้ เชื่อว่าหลายๆคนกำลังมองหา อาชีพอิสระ ที่เลือกได้ ไม่ต้องเป็นลูกจ้างใคร ทำเอง จัดการเอง กินเอง และ ถ้ายิ่งได้อยู่กับครอบครัว อยู่กับธรรมชาติ ที่อากาศบริสุทธิ์ด้วยแล้ว คงเป็นอะไรที่วิเศษที่เดียว แน่นอนครับ เรามีอาชีพที่น่าสนใจมาแนะนำ ซึ่งก็มีทั้ง ด้านการเกษตร การเงิน คอมพิวเตอร์ การหารายได้เสริมออนไลน์ (หารายได้จากเน็ต) ..
มีอะไรบ้างก็ติดตามหาข้อมูลได้เลยครับ...

กระดานเทรดเหรียญคริปโตของไทย

BX.in.th Bitcoin Exchange Thailand

การเพาะเห็ดฟาง

เห็ดฟาง
เห็ดฟางเป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้าวชื้นๆ โคนมีสีขาว ส่วนหมวกสีน้ำตาลอมเทา หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดตลอดทั้งปีเดิมคนไทยเรียกเห็ดฟางว่า เห็ดบัว เพราะมีเกิดขึ้นได้เองในกองเปลือกเมล็ดบัวที่กะเทาะเมล็ดภายในออกแล้ว ต่อมาเมื่อมีการส่งเสริมให้ใช้ฟางเพาะจึงนิยม เรียกว่า เห็ดฟาง
การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
เป็นรูปแบบการเพาะเห็ดฟางอีกแบบหนึ่งที่ทำได้ง่าย ใช้พื้นที่น้อยขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ทุกครัวเรือนสามารถทำได้เพื่อบริโภคในครัวเรือน ดอกเห็ดสามารถทยอยออกได้เรื่อยๆ เป็นการลดรายจ่ายด้านอาหารในครัวเรือน และสามารถทำเป็นกิจกรรมเสริมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจได้ด้วย วัสดุที่ใช้เพาะก็สามารถใช้วัสดุเศษเหลือในไร่นาได้เกือบทั้งหมด เช่นเดียวกับการเพาะเห็ดฟางแบบอื่นๆ แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นคือ สามารถนำก้อนเชื้อเห็ดถุงที่เก็บดอกหมดแล้วทั้งเห็ดขอนขาว เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม มาเป็นวัสดุเพาะได้อีกด้วย

วัสดุ อุปกรณ์

- ตะกร้าพลาสติกสูงประมาณ 1 ฟุต ตาห่างประมาณ 1 ตารางนิ้ว
- เชื้อเห็ดฟาง
- ขี้เลื่อย / ฟางแห้ง
- อาหารเสริม (มูลสัตว์ผสมรำ อัตรา 1: 1) หรือปุ๋ยหมัก
- แป้งข้าวสาลี

ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
เริ่มด้วยการนำขี้เลื่อย หรือฟางแห้งมาใส่ในตะกร้าพลาสติกที่เตรียมไว้ ให้มีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว และใช้มือหรือไม้กดให้แน่น จากนั้นนำเอาอาหารเสริมโรยให้ชิดด้านในของตะกร้าเป็นวงกลม บริเวณที่โรยให้มีความกว้างประมาณ 1 ฝ่ามือ ซึ่งใช้ประมาณ 1 ลิตร ต่อชั้น จากนั้นให้นำเชื้อเห็ดฟางออกจากถุง นำไปคลุกกับแป้งข้าวสาลีพอติดผิวนอก แป้งสาลีนี้จะเป็นอาหารเสริมระยะแรก ที่จะช่วยกระตุ้นให้เชื้อเห็ดเจริญเติบโตได้ดี แล้วโรยทับอาหารเสริมอีกชั้นหนึ่ง ทำเป็นชั้นๆ ลักษณะนี้จนเต็มตะกร้าพลาสติก รดน้ำซ้ำให้ชุ่ม หากก้อนเชื้อเห็ดที่นำมาเพาะยังชุ่มอยู่ก็ไม่ต้องรดน้ำ แต่หากแห้งก็รดน้ำให้ชุ่ม จากนั้น ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมสำหรับการเกิดดอกเห็ดโดยการปิดโรงเรือนให้มิดชิด ให้อยู่ในอากาศร้อนชื้น เช่น ด้านล่างควรใช้อิฐทับผ้าพลาสติกไว้ เพื่อป้องกันพลาสติกเปิดออก ภายในโรงเรือนควรติดเทอร์โมมิเตอร์ สำหรับวัดอุณหภูมิ ในช่วงวันที่ 1 ถึง 4 วันแรกต้องควบคุมอุณหภูมิในกระโจม หรือในโรงเรือนให้อยู่ในระดับ 37-40 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงเกินไป ให้เปิดช่องระบายอากาศด้านบนของโรงเรือนออกเพื่อระบายอากาศร้อนออก ใช้วัสดุพรางแสงคลุมหรือรดน้ำรอบๆ โรงเรือน เมื่อครบกำหนด 4 วัน ให้เปิดผ้าพลาสติกหรือประตูโรงเรือนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศสะดวก เพื่อให้เส้นใยเห็ดฟางสร้างใยเชื้อเห็ด ถ้าวัสดุแห้งเกินไปให้รดน้ำซ้ำ ในระหว่าง วันที่ 5-8 ต้องควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส ซึ่งในช่วงนี้จะมีการรวมตัวของเส้นใยเป็นดอกเล็กๆ จำนวนมาก เมื่ออายุได้ 9-12 วันก็สามารถที่จะเก็บดอกเห็ดจำหน่ายได้
ต้นทุนการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า/ตะกร้า

- ตะกร้า 35 บาท

- เชื้อเห็ด 6 บาท

- ขี้เลื่อย 3 บาท

- อาหารเสริม/แป้งข้าวสาลี 3 บาท

ผลผลิตการเพาะเห็ดในตะกร้า 0.5 - 1 กิโลกรัม/ตะกร้า ราคากิโลกรัมละ 50 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น